การเล่นหยอดบล็อก (Sorting blocks) หมายถึง กิจกรรมการเล่นในมุมบล็อกของเด็กปฐมวัยในช่วงกิจกรรมเสรีซึ่งเด็กปฐม วัยได้มีโอกาสเล่นบล็อกหยอด (Blocks for Sorting) ที่ทำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น แท่งไม้ พลาสติก หรือวัสดุอื่น มีวัตถุประ สงค์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา บล็อกหยอดจะประกอบด้วยอุปกรณ์การเล่นแยกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนแรกจะเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบให้มีรูปร่างต่างๆ เช่น ออกแบบเป็นตัวบ้าน สัตว์ ยานพาหนะ รูปลูกเต๋า โดยส่วนด้านข้างและด้านบนจะเจาะรูให้เป็นช่องที่มีรูปร่างต่างๆ เพื่อที่จะได้นำชิ้นส่วนอุปกรณ์การเล่นส่วนที่สองมาใส่ให้ตรงกับช่องนั้นๆ
- ส่วนที่สองของอุปกรณ์การเล่นบล็อกหยอด จะเป็นชิ้นส่วนที่ทำมาจากแท่งไม้ พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีรูปร่างลักษณะตรงกับช่องของอุปกรณ์ในส่วนแรก
สำหรับการออกแบบอุปกรณ์ในส่วนแรกจะเป็นรูปร่างใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ บางครั้งอาจเจาะให้เป็นรูปเรขาคณิต เป็นรูปสัตว์ ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ ทั้งนี้บล็อกหยอดที่ใช้กับเด็กปฐมวัยอาจยึดเนื้อหาที่เรียนรู้หรือหัวเรื่องเป็นหลัก เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียน เช่น
- การสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงเรขาคณิต ก็ออกแบบบล็อกหยอดให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม วงรี ฯลฯ
- ถ้าต้องการให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข 1 – 10 ก็สามารถออกแบบบล็อกให้ให้เป็นตัวเลข
- หรือถ้าให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในห้องครัว ก็สามารถออกแบบบล็อกหยอดให้มีรูปช้อน จาน ชาม หม้อ ฯลฯ
ซึ่งในปัจจุบันนี้การออกแบบบล็อกหยอดจะมีความสวยงามและน่าสนใจ ทำให้เด็กอยากเล่นและเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งเด็กมีโอกาสได้เล่นมากเท่าไร ย่อมทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะและมีพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น การเล่นหยอดบล็อกเป็นกิจกรรมการเล่นประเภทหนึ่งที่ครูปฐมวัยจัดให้เด็กได้เล่นในช่วงกิจกรรมเสรีหรือเล่นตามมุม ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
การเล่นหยอดบล็อกมีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร?ความสำคัญ?
ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับปฐมวัยควรสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสเล่น ทั้งการเล่นอิสระและกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่น ดังที่ โฟรเบล (Friedrich Wilhelm August Fröbel) นักการศึกษาคนสำคัญซึ่งรับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการอนุบาลศึกษา ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่า “การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้” ซึ่งสอดคล้องกับมิลลี่ อัลมี่ (Millie Almy) ที่เชื่อว่า การเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ดังนั้น ผู้ ใหญ่ควรจะให้โอกาสและสนับสนุนเด็กให้ได้เล่น และเด็กจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการสังเกตและการลงมือปฏิบัติ รูดอล์ฟและโคเฮน (Marguerita Rudolph and Dorothy Cohen) กล่าวว่า การเล่นเป็นกระบวนการของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งการเล่นจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
- การเล่นจะนำไปสู่การค้นพบและความคิด
- การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
- และการเล่นนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์
การเล่นเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเล่นของเด็กเปรียบได้กับการทำงานของผู้ใหญ่ จะต่างกันตรงที่ผู้ใหญ่ทำงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้ แต่การเล่นของเด็กจะจบลงในตัวเอง โดยมิได้มุ่งหวังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นอกจากความพึงพอใจตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การเล่นเป็นกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับโดยความสมัครใจของตัวเด็กเองโดยไม่มีการบังคับ การเล่นจึงเป็นกระบวนการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม อีกทั้งยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์อีกด้วย
บล็อก (Block) เป็นอุปกรณ์การเล่นอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากสำหรับเด็กปฐมวัย บล็อกมีหลายรูป แบบ หลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด อาจทำมาจากแท่งไม้ เศษวัสดุ กระดาษ กล่อง ฯลฯ บล็อกสามารถนำไปใช้งานอย่างเดียว หรือนำไปประกอบรวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำพาความสนุกสนานในการเล่นอย่างไม่มีขีดจำกัด บล็อกแต่ละชุดอาจจะมีแบบและจำนวนแตกต่างกัน บางชุดมีขนาดเล็ก มีจำนวนเพียง 20 ชิ้น บางชุดมีขนาดใหญ่ จำนวนมากอาจถึงร้อยกว่าชิ้น ซึ่งลักษณะของบล็อกอาจจะมีรูปทรงแตกต่างกันไป บล็อกมีหลายชนิดจะเรียกแตกต่างกันตามแต่วัสดุที่ประ กอบขึ้น ได้แก่
- บล็อกกล่องกระดาษแข็ง เป็นบล็อกที่ทำมาจากเศษกระดาษแข็งของกล่องใส่ของชิ้นใหญ่ มีลักษณะคล้ายแท่งอิฐ บล็อกชนิดนี้มีประโยชน์มากสำหรับเด็กเล็ก เพราะจะมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยตนเอง และราคาไม่แพง
- บล็อกเลโก้ จัดเป็นเครื่องเล่นประเภทบล็อกชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก มีหลายรูปร่าง สามารถวางไว้บนโต๊ะและมีหลายสี เป็นการเร้าความสนใจเด็กไปในตัว เพราะเด็กเล็กจะชอบเล่นของเล่นที่มีสีสันสวยงาม
- บล็อกกลวง มีขนาดใหญ่กว่าไม้บล็อกตามปกติที่จัดไว้ให้เด็กเล่นตามมุมบล็อก บล็อกกลวงจะมีน้ำหนักเบาและมีหลายชนิด ลักษณะของบล็อกกลวงจะมีด้านเปิดอยู่ด้านหนึ่งเพื่อสะดวกในการที่เด็กจะหอบหิ้วเคลื่อนย้ายได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของเด็ก เพราะเด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีกำลังในการเคลื่อนย้ายสิ่งของขนาดใหญ่
บล็อกชนิดต่างๆที่นำมาใช้เพื่อให้เด็กได้เล่น นอกจากจะจัดหามาด้วยวิธีการซื้อจากร้านขายวัสดุอุปกรณ์การศึกษาแล้ว ครูปฐมวัยอาจทำบล็อกขึ้นมาใช้เอง เช่น บล็อกกระดาษโดยใช้กล่องนม หรือกล่องกระดาษอื่นๆ นำมาห่อด้วยกระดาษที่มีสี สันสวยงาม ซึ่งเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ให้ทั้งประโยชน์และประหยัดค่าใช้จ่าย อาจทำบล็อกไม้ขึ้นใช้เอง และจัดไว้ในมุมบล็อก เพื่อให้เด็กได้เล่นโดยคำนึงถึงความเรียบร้อยและคุณภาพของไม้ที่นำมาประดิษฐ์
การเล่นของเล่นหยอดบล็อก (Sorting blocks) เป็นกิจกรรมการเล่นที่ครูปฐมวัยจัดให้เด็กได้เล่นในมุมเล่นเสรี ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้เด็กเล่นอิสระตามความสนใจ ซึ่งในช่วงเวลานี้เด็กจะมีโอกาสได้เล่นอย่างสร้างสรรค์ตามมุมประสบการณ์ภายในห้อง เรียนที่จัดไว้ เช่น มุมบทบาทสมมติ มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษา มุมดนตรี มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมคณิตศาสตร์ มุมพลาสติกสร้างสรรค์ มุมบล็อก มุมเล่นน้ำเล่นทราย ฯลฯ การเล่นหยอดบล็อกเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้เด็กเล่นที่มุมบล็อก อาจจะให้เด็กได้เล่นเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ส่วนใหญ่การเล่นหยอดบล็อกจะเป็นกิจกรรมที่ฝึกฝนทักษะการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างประสาทของมือและตา ฝึกฝนการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส การสังเกต การมีสมาธิ ซึ่งส่วนใหญ่การหยอดบล็อกจะเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในชั้นเริ่มต้น เช่น ชั้นเตรียมอนุบาล ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หรือเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ฟ่อแม่นำไปฝึกฝนให้กับลูก เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สถานศึกษาปฐมวัยก็ได้
การเล่นหยอดบล็อกมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การเล่นหยอดบล็อก (Sorting blocks) เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ในการเล่นบล็อกแต่ละครั้ง เด็กจะต้องไปหยิบบล็อกหรือเคลื่อนย้าย หอบหิ้วบล็อกและต้องจัดเก็บหลังจากเล่นเสร็จแล้ว เด็กต้องใช้กำลังและออกแรง ได้ใช้กำลังของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนากล้ามเนื้อในส่วนแขน ขา และลำตัว ส่วนการหยอดบล็อกเด็กต้องวางบล็อกลงให้ตรงกับช่องตามรูปร่างหรือรูปทรงนั้น ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาในด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา ซึ่งเป็นการพัฒนาในด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
- ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ บล็อกหยอดเป็นอุปกรณ์การเล่นที่มีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี เนื่องจากบล็อกหยอดบางครั้งออกแบบเป็นบ้าน เป็นรถไฟหรือรถลาก เป็นตุ๊กตา ฯลฯ ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะชอบเล่นของเล่นที่มีสีสันสวยงามอยู่แล้ว ยิ่งถ้าได้เล่นของเล่นที่ตนมีความต้องการและสนใจแล้ว ย่อมทำให้มีความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน และไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
- พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปทรง รูปร่างเช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ครึ่งวงกลม วงรี ฯลฯ การเล่นหยอดบล็อก เด็กจะต้องสังเกตและนำบล็อกส่วนที่เป็นส่วนย่อยนำไปวางให้ตรงกับช่องว่างให้ถูกต้อง ดังนั้นเด็กจึงได้ฝึกฝนทักษะทางคณิต ศาสตร์เกี่ยวกับรูปทรง รูปร่างได้เป็นอย่างดี
- ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนใหญ่บล็อกหยอดจะถูกออก แบบให้มีสีสันสวยงามและใช้สีที่หลากหลาย การที่เด็กมีโอกาสเล่นบล็อกหยอดทำให้สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สีจากการเล่นบล็อกนำไปสู่การมีประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสีได้
- พัฒนาทางด้านภาษา เด็กอาจเล่นหยอดบล็อก เป็นรายบุคคลหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ การที่เด็กมีโอกาสร่วมเล่นเป็นกลุ่มทำให้เด็กได้พูดคุยสนทนาและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีโอกาสได้ใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาได้ นอกจากนี้ บล็อกหยอดยังมีการเขียนคำพยัญชนะต่างๆลงในบล็อก ทำให้เด็กได้คำศัพท์จากกิจกรรมการเล่น เช่น บล็อกรูปทรงสามเหลี่ยม ก็จะเขียนคำว่าสามเหลี่ยมกำกับไว้ บล็อกรูปมะม่วงก็เขียนคำว่ามะม่วงกำกับไว้ สิ่งเหล่า นี้เป็นการบูรณาการทักษะทางด้านภาษาให้มาอยู่ในกิจกรรมการเล่น ทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะหลายๆด้านไปพร้อมกัน
- ช่วยปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็ก โดยครูจะได้ฝึกให้เด็กรู้จักการเก็บของเล่นเข้าที่เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ช่วย เหลือเพื่อนในการเก็บของเล่น เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการช่วยเหลือ ความมีน้ำใจ ความสามัคคี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดีที่ควรฝึกฝนให้กับเด็กในวัยนี้
- ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กเล่นหยอดบล็อก อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเล่น หรือมีปัญหากับเพื่อนๆ ทำให้เด็กได้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง ทำให้สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
- ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองหรือกำกับตนเองในการทำกิจกรรม (Self Regulation) การเล่นหยอดบล็อกทำให้เด็กได้ควบคุมพฤติกรรมของตนเอง รู้จักที่จะกำหนดเวลาในการเล่นและเรียนรู้วินัยจากการเล่น สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กมีความรับผิด ชอบและกำกับตนเองในการเล่นและทำงานได้
- ช่วยขยายเวลาในการเล่นหรือทำงานของเด็กให้ยาวนานขึ้น เด็กสนใจเล่นสิ่งที่ตนเองต้องการ และชอบกิจกรรมการหยอดบล็อก เป็นการเล่นอีกอย่างหนึ่งที่เด็กชอบ ทำให้เด็กมีสมาธิและสามารถเล่นได้นานโดยไม่เบื่อ
- ทำให้การจัดการชั้นเรียนปฐมวัยเป็นไปอย่างราบรื่น และลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในห้องเรียน การจัดหากิจกรรมที่เด็กชอบมาให้เด็กได้เล่นในห้องเรียน ถือเป็นวิธีการควบคุมชั้นเรียนอีกวิธีการหนึ่ง เมื่อเด็กทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ ไม่มีเวลาที่จะสนใจหรือแสดงพฤติกรรมอื่นๆที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมในทางลบได้
ขอมูลดีจาก
taamkru.com
taamkru.com
ของเล่นบล็อกหยอดรูปทรงลูกเต๋า เป็นพลาสติก ABS เนื้อดี สีสดใส ภายในกล่องลูกเต๋าจะประกอบด้วยบล็อครูปทรงต่างๆ 10 ชิ้น ทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลม รูปเป็ดและอื่นๆ สามารถแกะกล่องลูกเต๋าออกมาเพื่อประกอบขึ้นมาเอง (คล้ายกับต่อจิ๊กซอว์) จากนั้นก็นำบล็อคหยอดต่างๆที่อยู่ในกล่องลูกเต๋า มาหยอดใส่บล็อกตามรูปทรงต่างๆ
ช่วยเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อด้วยการหยิบจับ นิ้วและมือรวมทั้งเส้นประสาทปลายนิ้วของเด็กไปด้วยกันในระหว่างที่ต่อ ส่งเสริมทักษะการใช้มือและตาให้ประสานกัน ฝึกการสังเกต ฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดต่าง ๆ ของรูปทรงที่แตกต่างกันในการหยอดบล็อก ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เด็กมีจิตใจที่สงบและมีสมาธิที่ยาวนานขึ้น
นอกเหนือจากนี้ บล็อกหยอดรูปทรงลูกเต๋ายังมีด้านที่มีของเล่นอื่นๆ เช่น แผงลูกคิด.
ของเล่นประเภทบล็อกหยอด ช่วยเสริมพัฒนาการ
Reviewed by เซียนบล์อก
on
11:31
Rating:
